Cute Orange Cloud

บทที่14

บทที่ 14

บทที่ 14
การออกแบบระบบและการนำไปใช้

1.การออกแบบ
การออกแบบระบบก่อนที่จะนำไปใช้ ประด้วยประเด็นสำคัญดังนี้

1.1 ประเภทการออกแบบ
การออกแบบโดนทั่วไปแยกเป็น 2 ส่วนคือ การออกแบบเชิงตรรกะ และการออกแบบเชิง
1.1.1 การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
         การออกแบบเชิงตรรกะเป็นการออกแบบทางแนวคิด โดนการออกแบบจะเน้นที่การออกแบบเชิง
ขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนงานที่ได้มาจากการวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ ออกแบบสำหรับการนำข้อมูล
เข้า การไหลเข้าของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การไหลออกของข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ การออกแบบ
ฐานข้อมูลตรรกะผลลัพธ์ การออกแบบจึงอยู่ในรูปของแบบจำลองเชิงตรรกะแบบต่างๆที่ได้ศึกษามาแล้ว
ในบทก่อนๆ
1.1.2 การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
         การออกแบบเชิงกายภาพเป็นการออกแบบทางภาคปฏิบัติสำหรับการนำระบบไปใช้ เพื่อให้เกิด
ระบบใหม่ตามการออกแบบเชิงตรรกะ หรือกล่าวไว้ว่า การออกแบบเชิงกายภาพเป็นการสร้างพิมพ์เขียว
ให้กับระบบ ซึ่งก็คือ กิจกรรมในระยะการออกแบบระบบในวงจรการพัฒนาระบบตามที่ได้กล่าวไว้ใน บท
ที่ 2 นั้นเองการออกแบบจึงเน้นไปที่การออกแบบเชิงวิธีแสดงข้อมูล การออกแบบโปรแกรม การออก
แบบฐานข้อมูลในระดับการภาพ เช่น กำหนดชนิดฟิลต์ข้อมูลให้เหมาะสม

1.2 การออกแบบบทางเทคนิค
      การออกแบบทางเทคนิคเป็นการออกแบบเชิงคุณภาพการทำงานของระบบเมื่อนำระบบมาใช้งาน
เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน การสร้างตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์
และเทคนิคการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ
1.2.1 ด้านการนำข้อมูลเข้า
         การออกแบบด้านนี้ได้กล่าวไว้ว่าแล้วในบทที่ 13 ได้แก้ การออกแบบฟอร์มให้ป้อนข้อมูลที่เหมาะ
สมกับการทำงาน เช่น คีย์ข้อมูลลงระบบง่าย รวดเร็วมีการควบคุมคีย์ให้ถูกต้อง
1.2.2 ด้านการประมวลผลข้อมูล

          การออกแบบด้านนี้ได้แก่ การออกแบบอัลกอริธึมในโปรแกรมที่เหมาะสม การออกแบบโครงสร้าง
โปรแกรมการสร้างฐานข้อมูลที่มีการปรับแต่งการทำงานให้กับระบบฐานข้อมูลให้เหมาะสม เช่น กำหนด
ประเภทข้อมูลและขนาดเขตข้อมูลที่รวดเร็วและรวมไปถึงการจัดหาอุปกรณ์การแสดงผลข้อมูลที่เหมาะ
สม เป็นต้น

1.3 การออกแบบวิธีการจัดเก็บมูล
       การออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบงานเข้าถึงได้รวดเร็ว และในขณะเดียว
กันข้อมูลที่จัดเก็บไว้ที่จะอยู่ในสถาะที่ปลอดภัย ไม่สูญหายหรือถูกแก้ไขโดยไม่มีเหตุอันควร การพัฒนา
ระบบแต่เดิมที่จะเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเป็นหลัก และในยุค ปัจจุบันการเก็บข้อมูล จะอยู่ในรูป
ของระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกว่ามาก
1.3.1 แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential)
          ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเรียงลำดับกันไปตามค่าของข้อมูลที่เป็นคีย์หลัก ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูล
จะเข้าเพราะต้องเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่ต้นจนกว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ ปัจุจบันเรายังเห็นการทำงานใน
ลักษณะนี้อยู่บ้าง ได้แก่เทปสำรองข้อมูล เนื่องจากว่าการทำงานส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลเข้าไปเก็บ
เพิ่มเรื่อย ๆ เป็นต้น
1.3.2 แฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random)
          ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเรียงลำดับกันไปตามลำดับก่อนหลังของการบันทึกข้อมูลและมีการจัด
ทำดัชนีตำแหน่งข้อมูลไว้ด้วย ดังนั้น การออกแบบการจัดเก็บจะมีความซับซ้อนขึ้น แต่การเข้าถึงข้อมูล
จะรวดเร็วขึ้นและการบันทึกข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีการเรียงลำดับก่อนการบอกเวลาในการเข้าถึงข้อมูล
ของการเก็บข้อมูลแบบนี้จะบอกเป็นเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงข้อมูล

1.4 การออกแบบส่วนแสดงผลลัพธ์การทำงาน (Output)
      การออกแบบผลลัพธ์การทำงานของระบบมีรายละเอียดดังนี้
1.4.1 วัตถุประสงค์การออกแบบ
         วัตถุหลักของการออกแบบส่วนแสดงผลลัพธ์การทำงานคือ การให้ข้อมูลหรือสารเทศที่สำคัญแก่
ผู้ใช้งาน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในลำดับการทำงานอื่นอีกต่อไป โดยจะต้องดูข้อมูล
ง่ายและได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
1.4.2 ลักษณะการใช้งานของส่วนแสดงผลลัพธ์
          การแสดงผลลัพธ์การใช้งานใน 2 รูปแบบคือ
          1.รายงาน (Report) และเอกสาร (Document)
          รายงานและเอกสารจะเป็นผลลัพธ์หลักที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะมักใช้เป็นที่แสดง
          สารสนเทศที่สำคัญที่มาจาการทำงานองค์กร ใช้สื่อสารความเข้าใจ
     1.) สำหรับการใช้งานสำหรับในองค์กรได้แก่
          • รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริการ
          • รายงานแสดงข้อมูลที่กรองข้อมูลที่ไม้ต้องการออก
          • รายงานแสดงรายละเอียด สำหรับตรวจสอบการปฏิบัติงาน
     2.) สำหรับการใช้งานภายนอกองค์กร เช่น บุคลลภายนอกองค์กรที่มีการติดต่อได้แก่
          • การออกแบบใบเสร็จรับเงิน
          • การออกหนังสือแจ้งการชำระหนี้
          • เอกสารสำหรับแสดงรายละเอียดการคำนวณภาษีอากร
          • เอกสารอื่น ฯลฯ
1.4.3 ข้อควรพิจารณาสำหรับการออกแบบการแสดงผลลัพธ์
          เนื่องจากผลลัพธ์ที่แสดงออกมาอยู่ในรูปของการสื่อสารสนเทศหรือข้อมูลที่มาจากระบบ 
ดังนั้นการออกแบบแสดงผลลัพธ์ต้องพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารประกอบด้วยได้แก่
          1.ผู้ที่รับสาร
          2.ลักษณะการใช้ประโยชน์จากสาร
          3.รายละเอียดข้อมูลหรือสารสนเทศที่สื่อสารออกมา
          4.ชนิดของสื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสาร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.) สื่อที่แสดงข้อมูลคงที่ถาวร (Hard Copy) เป็นสื่อที่เก็บข้อมูลไว้คงที่และข้อมูลไม่ถูกทำลาย สามารถ
เก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในเวลาต่อไปได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงการพิมพ์ออกทางกระดาษเป็นหลัก 
         • พิมพ์บนกระดาษแผ่นสำเนาเดียว เช่น การออกแบบรายงาน
         • พิมพ์บนกระดาษแบบหลายสำเนา เช่น การออกใบส่งของที่ต้องมีสำเนาสำหรับเจ้าหน้าที่จะ
หมายถึงการแสดงข้อมูลบนหน้าจอมอนิเตอร์ นั้นคือ เมื่อมีการแสดงข้อมูลใหม่ข้อมูลเดิมจะหายทันที
นอกจากนี้มักรวมไปถึงการบันทึกผลลัพธ์เป็นแฟ้มข้อมูลและนำไปเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่อง
อื่นได้

1.5 การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
      การออกแบบโปรแกรมถือได้ว่าเป็นงานสุดท้ายในระยะการออกแบบระบบ เพื่อเป็นการเตรียมการ
เขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานในระยะการใช้งานระบบ ลักษณะงานหลักก็คือการนำการออกแบบเชิง
ตรรกะ และการออกแบบเชิงกายภาพมาแปลงเป็นการออกแบบทางเทคนิคในด้านการประมวลผล
ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือพิมพ์เขียวของโปรแกรมที่จำนำไปใช้งานนระบบใหม่ขึ้นมาที่อยู่ในรูปการพัฒนา
ระบบสารสนเทศนั้นเอง การออกแบบโปรแกรมแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ดังนี้
1.5.1 การจัดทำข้อกำหนดลักษณะความต้องการของโปรแกรม
         การออกแบบโปรแกรมต้องทราบความต้องการของโปรแรกมก่อนซึ่งก็คือ ความต้องการทาง
เทคนิค หรือกายภาพที่สอดคล้องกับความต้องการที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบนั้นเอง การจัดนำข้อ
กำหนดลักษณะความต้องการของโปรแกรมจะช่วยให้พบข้อผิดพลาดและแก้ไข้ได้ทันที แทนที่จะให้พบ
ข้อผิดพลาดของโปรแกรมหลักการรับใช้ระบบไปแล้ว เพราะการแก้ไขอาจจะยุ่งมากกว่ามาก
1.5.2 ออกแบบเชิงโครงสร้างให้กับโปรแกรม
         การออกแบบเชิงโครงสร้างเป็นการออกแบบเชิงเทคนิคโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง 
(Structured Analysis) เพื่อออ กแบบโปรแกรมขึ้นมาโดนเน้นให้มีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามหน้าที่การ
ทำงานหรือเรียกว่าแบ่งออกเป็นโมดูล แต่โมดูนจะมีค่าความสัมพันธ์ต่อกัน
        1.แต่ละโมดูลมีความเป็นหนึ่งเดียวสูง (High Cohesion)
           นั้นคือมีความเฉพาะเจาะจงในการทำงานในโมดูลและแต่ละโมดูลมีความเป็นอิสระต่อกันการ
           ออกแบบในลักษณะแบบนี้ช่วยลดความสับสนและเกิดความสะดวกเมื่อมีการเรียกใช้งาน
        2.แต่ละโมดูลมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆ (Loosely coupled)
           แม้ว่าในแต่ละโมดูลจะความเป็นอิสระต่อกันสูง แต่การทำงานของโปรแกรมก็ยังต้องอาศัยให้
           แต่ละโมดูลทำงานร่วมกัน นั้นคือมีความสัมพันธ์กัน (Couples) ดังนั้นการออกแบบโมดูลต้องระวัง
           การอิงตรรกะซึ่งกันและกัน
1.5.3 จัดทำแผนผังโครงสร้างของโปรแกรม
         การจัดทำแผนผังโครงสร้างของโปรแกรมคือใช้เป็นภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลใน
โปรแกรมได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลจะอยู่ในรูปการส่งผานข้อมูล ( Passing Data) และในรูปของ
องค์ประกอบพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structure Programming) ตามที่ได้ออกแบบ
ไว้ ผังโครงสร้างนี้จำจำลองกระแสข้อมูล เพียงแต่ผังโครงสร้างนี้แสดงการไหลขอข้อมูลมุมแบบ
โครงสร้างโปรแกรมที่ถูกออกแบบขี้นมา
                 
2.การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
   การทำงานของระบบนั้นต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และยังต้องอาศัยการออกแบบทาง
เทคนิคเพื่อช่วยในการติดต่อประสานกับผู้ใช้งานระบบ และการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เป็นการ
ออกแบบทางเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีผลต่อต้นทุนในการลงทุนพัฒนาระบบด้วย การออกแบบระบบ
คอมพิวเตอร์ประด้วยสิ่งต่อไปนี้

2.1 การจัดวางระบบคอมพิวเตอร์
      การจัดวางระบบคอมพิวเตอร์มีสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมดังนี้
2.1.1 วิธืการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์
         1.การจัดชื้อ (Purchase)
            การจัดชื้อเป็นการจัดหาคอมพิวเตอร์ที่ผู้ชื้อชำระค่าสินค้าทั้งหมดในคราวเดียว การจัดหาวิธีที่
            เหมาะสมหรับองค์กรที่มีความพร้อมของบุคคลากรด้านไอทีและมีเงินทุนพร้อม
         2.การเช่าชื้อ (Leasing)
            การชื้อเป็นการจัดการคอมพิวเตอร์โดยชำระค่าชื้อเป็นรายงวดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไป
            ไม่เกิน 3 ปี จำนวนเงินชำระต่องวด การดำเนินการเมื่อผิดนัดการชำระการบริการหลังการขาย
            และความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์เครื่องนี้
         3.การเช่า (Rental)
            การเช่าเหมาะสมสำหรับการใช้งานระยะสั้น โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 1-12 เดือน ทั้งนี้ค่าเช่าระยะ
            เวลาการเช่าของเขตความรับผิดชอบต่อกันนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้เช่า 
            ข้อดีการจัดหาด้วยวิธีนี้คือ ลดภาระการดูแลรักษาเครื่อง ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากทันทีแต่ไม่
            เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
2.1.2 นโยบายการดูแลคอมพิวเตอร์
         การจัดวางคอมพิวเตอร์  มีนโยบายหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเครื่องให้อยู่ในสภาวะ
ปลอดภัยได้แก่ นโยบายป้องกันการสูญหาย การมีแผนในกรณีฉุกเฉิน ฯลฯ

2.2 การเลือกการสื่อสารข้อมูล
      ระบบต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั้นคือ สภาพแวดล้อมเชิงเทคนิค (Technical 
Enviroment) ที่รองรับการทำงานของระบบ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติการทำงาน
(Specification) ที่เหมาะสม มีการเชื่อต่อกันเป็นระบบเครือข่ายสำหรับการเป็นสื่อสารข้อมูลที่มีคุณภาพ
เหมาะสมมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย การสื่อสารข้อมูล
2.2.1 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเครือข่าย
         การเลือกลักษณะทางสถาปัตรกรรมเครืองข่าย พิจารณาจากสิ่งเหล่านี้
         1.คุณสมบัติการทำงาน (Specification)
            การทำงานได้แก่ ความเร็วในการเชื่อมต่อ ข้อกำหนดทางเทคนิคในการสื่อสารข้อมูล (Protocal)
            ในเครือข่าย
         2.รูปแบบของสถาปัตยกรรม
            ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายได้แก่
            1) แบบบรวมศุนย์ (Centralized)
            2) แบบไฟล์เชิร์ฟเวอร์ (File Server)
            3) แบบไคลเอ็นต์เชิร์ฟเวอร์ (Client-Sever)
        3.นโยบายด้านความปลอดภัย (Security Policy)

           ลักษณะด้านนี้ได้แก่ นโยบายการเข้าถึงข้อมูล (Access Authorizaytion) นโยบายการระบุตัวตน
           ผู้ใช้งาน เช่น การใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน การใช้การด์ การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
 2.2.2 การทำงานร่วมกับระบบอื่นทีมีอยู่แล้ว (Compatibility)
         ในบางองค์กรอาจมีระบบงานบางอย่างอยู่แล้ว และต้องการพัฒนาระบบเพิ่มเติมที่ทำงานร่วมกัน
ระบบที่มีอยู่ เช่น ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน หรือการนำผลลัพธ์จากระบบหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นข้อมูลของ
ระบบใหม่

2.3 การเลือกมาตรฐานฮารด์แวร์สำหรับระบบเครือข่าย
      การที่ระบบต้องทำงานบนสภาพแวดล้อมเชิงเทคนิคและโดยส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารข้อมูลผ่าน
ระบบเครือข่ายทั้งสิ้น ในบทที่ 5 ที่ผ่านมาข้อการศึกษาความเป็นไปได้ ทางเทคนิคได้กล่างถึงแนวคิดใน
การจัดหาอุปกรณ์ไปบ้างแล้วในหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิค (Specification)
2.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
         เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบเครื่องแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือเครื่องแม่ข่าย (Server) และลูก
เครือข่าย (Client) และระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
        1.ชนิดของหน่วยประมวลผลกลาง (Central Unit Processor:CPU)
        2.ขนาดหน่วยความจำขณะทำงาน (Ram)
        3 ความจุของหน่วยบันทึกข้อมูล (หรือความจุฮารด์ดิสก์)
        4.อุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากสื่อบันทึกข้อมูลที่ต้องการใช้งาน เช่นตัวอ่านแผ่นฟลอปบี้ 
          (Floppy Disk Driver) ตัวอ่านแผ่น ซีดีและดีวีดี (CD/DVD)
        5.ลักษณะจอภาพที่ต้องการ เช่น ขนาดหน้าจอ ชนิดของจอภาพ แบบ Lcd หรือแบบ CRT
        6.ระบบปฏิบัติการที่รองรับ เช่น Windows NT Windows 2000 Noveli Netware เป็นต้น
2.3.2 ระบบปฏิบัติการ (Operrating System)
         ระบบปฏิบัติงานจะต้องพิจาระณาว่าสามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จัดหาได้หรือไม่ หรือ
ทำนองกลับกัน มาตรฐานทางฮาร์ดแวร์และของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาว่าสามารถนำมาใช้งาน
ระบบปฏิบัติการเลือกใช้ได้หรือไม่
        1.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)
           เป็นระบบปฏิบัติงานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย โดยมีความสามารถในการจัดการระบเครือ
           ข่ายและทำหน้าที่บริการด้านต่างๆ ในระบบเครือข่าย
        2.ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย (Client Operating System)
           เป็นระบบปฏิบัติงานสำหรับคอมพิวเตอร์ลูกข่ายโดยมีความสามารถในการเชื่อมต่อและสื่อสาร
           ข้อมูลกับระบบเครืองและรับบริการต่างๆได้
2.3.3 อุปกรณ์เชื่องโยงเครือข่าย (Network Device)
         ค่ามาตรฐานที่ต้องการจะอยู่ในรูปความเร็วในรูปแบบความเร็วในการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์เชื่อม
โยง เครือข่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการเชื่อมต่อแบบดาว (Star network) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากใน
ปัจจุบัน ดังนี้
         1. แผงเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Netwotk inferface Card:Nic) 
             หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า แลนการ์ด (Lan Card)
         2. อุปกรณ์กระจายสัญญาน โดยอุปกรณ์กลุ่มนี้ทำหน้าเป็นศูยน์กลางการสื่อสารข้อมูล (Node)
             ได้แก่ ฮับ (Hub) สำหรับการเชื่องโบงผ่านสายสัญญาณ แอ็คเซสพอยด์ (Access Point) สำหรับ
             การเชื่อมโยงแบบไร้สาย เราเตอร์ (Router) ทำหน้าที่เส้นทางที่สิ้นที่สุด ในการสื่อสารข้อมูล
             ระหว่าง 2 เครือข่าย เป็นต้น
         3. การนำระบบไปใช้
             การนำระบบไปใช้เป็นการนำการออกแบบซึ่งเป้นเสมือนพิมพ์เขียวไปสร้างให้เป้นตัวระบบขึ้นมา

3.1 การทำสอบข้อกำหนดและการวางแผน
3.3.1 การจัดทำระบบต้นแบบ (Prototype)
         ก่อนที่จะสร้าวงระบบขึ้นมาจริงๆ นั้นจะต้องมีการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบการทำงาน 
ของระบบในด้านต่างๆ ว่าได้ผลลัพธ์การทำงานต่างๆ เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ผู้ที่ทดสอบอาจเป็นผู้
พัฒนาระบบเอง หรือผู้ใช้งานระบบ หลังจาการทดลองเสร็จแล้วการทำระบบต้นแบบมี 2 ประเภทดังนี้คือ
         1.ทำแบบมีพัฒนาการ (Evolution Prototype)
            การทำต้นแบบในลักษณะนี้คือ การให้ระบบต้นแบบมีพัฒนาการต่อเนื่องไปเป็นระบบจริงหลังจาก
            การถูกทดสอบการใช้งานและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้แล้ว โดยทั่วไประบบต้นแบบจะถูกเริ่ม
            สร้างจากส่วนอื่นๆ ต่อไป
        2. ทำแล้วทิ้ง (Throwaway Prototype)
            ต้นแบบประเภทนี้มักใช้ทำเพื่อสมาธิตหรือทดสอบการทำงานบางด้านเท่านั้น ผลการทดสอบจะ
            เป็นข้อมูลหรือข้อสรุปที่ชัดเจน ไปใช้ในการสร้างระบบ หรือนำไปจัดทำเป็นข้อกำหนดในการ
            ออกแบบระบบ ต้นแบบประเภทนี้จึงไม่ค่อยมีการเก็บไว้เพื่อพัฒนาเป้นระบบจริงการสร้างระบบ
            ต้นแบบปประเภทนี้จึงเป้นการสร้างที่เรียบง่ายและรวดเร็วต่อการทดสอบใช้งาน
3.1.2 การเลือกเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ (Development Tools)
         เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบในที่นี้ หมายถึงเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการพัฬนาโปรแกรมที่จะนำ
ใช้งานระบบใหม่
          1.ความสามารถในการติดต่อและการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบ
          2.ความสามารถในการสร้างโปรแกรมแบบสภาพแวดล้อมทางเทคนิคที่กำหนด
          3.รองรับแนวคิดสำหรับการสร้างโปรแกรมที่ออกแบบไว้ได้
          4.การสนับสนุนจากผู้ผลิต เช่น การฝึกอบรม การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง

3.2 การเขียนโปรแรกมและการทดสอบ 
      ในกรณีที่ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเองจะมีลำดับการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมตามที่ได้กล่าวไว้
ในบทที่ 13 แต่ไม่ว่าเราจะเลือกพัฒนาระบบบด้วยการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง หรือเลือกปรับใช้จาก 
โปรแรกมสำหรับรูป หรือว่าการเลือกใช้บริการจากแหล่งภายนอก ตัวระบบที่พัฒนาขึ้นมาจนเสร็จแล้วนั้น
ต้องผ่านการทดสอบทำงานก่อนที่นำติดตั้งใช้งานจริง
3.2.1 วิธืการทดสอบแบบกล่องทึบ
         การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบถามในโปรแกรม ได้แก่ การเขียนโปรแกรม การออกแบบเชิง
ตรรกะหรืออัลกอริซึมของโปรแกรม การตรวจสอบประสิทธิภาพทางเทคนิค การใช้งานหน่วยความจำใน
ปริมาณที่เหมาะสม
3.2.2 วิธีทดสอบแบบกล่องใส
          การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบในโปรแกรม ได้แก่ การเขียนโปรแกรม การออกแบบเชิงตรรกะ
หรืออัลกอริธึมของโปรแกรม การตรวจสอบประสิทธิภาพทางเทคนิค การใช้งานหน่วยความจำในปริมาณ
ที่เหมาะสม

3.3 การทดสอบระบบทั้งหมด
      การทดสอบ ระบบทั้งหมดเป้นการทดสอบการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ ขั้นตอนการทดสอบมีอยู่
4 ขั้นตอน ตามลำดับของงาน
3.3.1  การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing)
          หน่วยย่อยในที่นี้อาจเป็นโมดูลต่างๆ ของโปรแกรมที่สร้างขึ้นมา หรืออาจเป็นโปรแกรมย่อยใน
ระบบซึ่งขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการออกแบบที่เลือกใช้ การทดสอบหน่วยย่อยจึงเป็นการนับประสิทธิภาพของ
หน่วยย่อยๆ
3.3.2 การทดสอบการรวมกันของแต่ละหน่วยย่อย (Integration Testing)
         เมื่อมีการนำหน่วยย่อยมาประกอบรวมกันเป็นระบบแล้ว จำดำหนินการทดสอบว่าแต่ละส่วนย่อย
ต้องสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด มี 2 วิธื ดังนี้
        1.การรวมแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up integrattion)
           การทดสอบการรวมจะเริ่มโดยประกอบจากโมดูลล่างสุดตามผังโครงสร้างโปรแกรม จากนั้นก็จะ
           ทดสอบการทำงานว่าทำงานร่วมกันได้หรือไม้ จากนั้นก็จะประกอบโมดูลในระดับที่สูงขึ้น พร้อม
           ทดสอบการทำงานว่าทำงานร่วมกันได้หรือไม่
        2.การรวมแบบลงล่าง ('Top-Down Integration)
           การทดสอบนี้เป็นการทดสอบโดยเริ่มประกอบโมดูลจากส่วนบนสุดตามผังโครงสร้างโปรแกรม
           จากนั้นจึงทดสอบทำงานร่วมกันของโมดูล จกานั้นจะประกอบโมดูลในระดับรองลงมาพร้อม
           ทดสอบการทำงานร่วมกันของโมดูลที่เชื่องต่อด้วยกัน ทำดังนี้จนกระทั่งเสร็จภาพใหญ่
3.3.3 การทดสอบทั้งระบบ (System Testing )
         หลังจากที่ทดสอบการรวมกันของส่วนย่อยแล้ว ก็จะดำเนินการทดสอบการทำงานทั้งระบบเพื่อให้
แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดในการทำงานและตรงกับ้ขอกำหนดตามความต้องการขั้นตอนนี้จึ้งเป็นหน้าที่
นักวิเคราะห์ ระบบและโปรแกรมเมอร์ที่สร้างโปรแกรมขึ้นมา
3.3.4 การทดสอบการยอมรับตัวระบบ (Acceptance Testing)
แม้จะมีการทดสอบการทำงานทั้งระบบแล้ว แต่ก่อนที่เกิดการยอมรับระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้งาน
ระบบนั้น ต้องมีส่วนในการทดสอบการทำงานของระบบใหม่ด้วยตนเองและพิจารณาว่าตรงกับความ
ต้องการหรือไม่
         1.การทดสอบนี้จะสมบัติผู้ใช้งานและสมมติตัวข้อมูลที่ใช้นำเข้าในระบบ การทดสอบนี้จะทำทั้ง
            ระบบและทำซ้ำๆ ในกรณีต่างๆ ที่คาดว่าจะมีในการทำงานกับระบบ
        2.การทดสอบบนสภาพแวดล้อมจริง (Beta Testing)
           การทดสอบจะให้ผู้ใช้งานระบบจริงและใช้ข้อมูลจิริงในการทอสอบการทำงานของระบบจริง
           แต่ระบบจริงจะอยู่ในสภาพแวดล้อมจำลองแทน โดยติดตั้งระบบแยกออกมาต่างหาก แล้วให้ผู้ใช้
           ลองทำงานกับระบบที่ตั้งขึ้นเสมือนกำลังทำงานจริง ดังนั้น การทดสอบระบบก็จะมีความสมจริง
           มากที่สุด

3.4 การฝึกอบรบผู้ใช้
      การนำระบบไปใช้งานจะต้องมีการอบรบผู้ใช้ให้เข้าใจการทำงานในระบบใหม่ ควรจัดกลุ่มสำหรับ
การฝึกอบรบตามบทบาทความรับผิดชอบที่มีต่อระบบงาน ดังนี้
3.4.1 เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
         การอบรมระดับนี้จะเน้นอบรมให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบงาน เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้สามารถมี
ส่วนช่วยเหลือสนับสนุนให้ระบบสามารถดำเนินไปอย่างเรียบร้อย หรือการแก้ปัญหาที่มาจากการใช้งาน
ระบบที่อาจเกิดขึ้น การอบรมระดับนี้จะเน้นไปใน 2 ลักษณะงานใหญ่ คือ
        1.การปรับแต่งค่าการทำงานของระบบ เช่น การกำหนดสิทธิ์การใช้งานระบบ การหยุดใช้งานบาง
           โมดูลชั่วคราว การตรวจสอบการทำงานตามช่วงเวลาที่กำหนด เป็นต้น
        2.การกู้คืนการทำงานให้กับระบบ เช่น การนำข้อมูลที่เผลอลบออกจากระบบให้กลับเข้ามาการตรวจ
           สอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เป็นต้น
3.4.2 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
         การอบรมในระดับนี้จะเน้นที่การใช้งานระบบเป็นหลัก เช่น การใช้งานกับหน้าจอต่างๆ การบันทึก
แก้ไข้ข้อมูล และอาจรวมถึงการฝึกอบรมทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วย
                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น