บทที่ 8
บทที่ 8
การเขียนแผนผังกระแสข้อมูล
1.ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล
1.1 ความหมายของแผนผังกระแสข้อมูล
แผนผังกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) คือ แผนผังชนิดหนึ่งที่ใช้การเขียนสัญลักษณ์
รูปภาพเพื่อแสดงการไหลของข้อมูลในระบบว่าข้อมูลเกิดจากแหล่งใด และไปปลายทางที่ใด
1.2 หลักการของ DFD
- DFD สามารถแตกเป็นระบบย่อยๆ (Sub-system) ได้และสามารถแตกต่อได้เรื่อยๆ จนไม่สามารถแตกได้อีก
- ระบบย่อยชั้นสุดท้าย คือระบบที่ไม่สามารถแตกเป็นระบบย่อยๆอีกได้
- ทุกระบบย่อยจะต้องมีกระบวนการ (Process) อย่างน้อย 1 กระบวนการเสมอ
- แต่ละกระบวนการใน DFD ควรมีลักษณะเฉพาะ ไม่ซ้ำกับกระบวนการอื่นในระบบย่อย
- ทุกระบบย่อยจะต้องมีข้อมูลเข้า (Input) และข้อมูลออก (Output) เสมอ
- ข้อมูลจะมาจาก 3 แหล่ง คือ สภาพแวดล้อมภายนอก,จากกระบวนการ และแหล่งเก็บข้อมูล
1.3 ชั้นของ DFD
DFD สามารถแบ่งออกเป็นชั้นๆ (Layer) ได้ดังรูปที่ 8.1
จากรูปที่ 8.1 ชั้นแรก เราจะเรียกว่าแผนภาพบริบท Context Diagram ซึ่งถือว่าเป็นแบบจำลองการ
ทำงานของระบบ เป็นผังชั้นที่ 0 (Level 0) ผังชั้นนี้มีไว้เพื่อใช้แสดงความสัมพันธ์ของระบบกับสิ่งแวด
ล้อมภายนอก (External Entities)
ผังชั้นที่ 1 (Level 1) จะแสดงรายละเอียดการทำงานภายในกระบวนการ 0 ผังชั้นนี้จะประกอบไปด้วย
กระบวนการย่อยที่รวมอยู่ภายในกระบวนการ 0
จากตัวอย่างในรูป 8.1 นั้น ผังที่ 2 จะมีอยู่ 2 ผัง คือ ผังของกระบวนการ 1 และผังกระบวนการ 2 โดยผัง
ของกระบวนการ 1 จะประกอบด้วยกระบวรการ 1.1 และ 1.2 ส่วนผังของกระบวนการ 2 จะประกอบด้วย
กระบวนการ 2.1 และ 2.2
1.4 สัญลักษณ์ในการเขียน DFD
ในการเขียนแผนภาพด้วย DFD จะมีมาตรฐานสากลอยู่ 2 แบบ คือ มาตรฐาน DeMarco & Yourdon
และมาตรฐาน Gane & Sarson ซึ่งแต่ละมาตรฐานจะมีการใช้สัญลักษณ์แตกต่างกัน แต่การเขียนผังจะใช้
วิธีการเดียวกัน ดังรูปที่ 8.2
และมาตรฐาน Gane & Sarson ซึ่งแต่ละมาตรฐานจะมีการใช้สัญลักษณ์แตกต่างกัน แต่การเขียนผังจะใช้
วิธีการเดียวกัน ดังรูปที่ 8.2
1.4.1 สัญลักษณ์กระบวนการ (process symbol)
เราจะใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมมุมมน ดังรูปที่ 8.3 สัญลักษณ์นี้ใช้แทนการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในระบบ
1.รายละเอียดของสัญลักษณ์กระบวนการ
ในสัญลักษณ์กระบวนการเราสามารถลงรายละเอียดย่อยอื่นได้ จะใช้คำภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
ก็ได้ มีรายละเอียดดังนี้
1.เลขอ้างอิงกระบวนการ (Unique Identifier)
เลขที่ใช้ในการสื่อกระบวนการใช้ชัดเจน จากรูปที่ 8.3 เลขอ้างอิงคือ กระบวนการที่ 218
(มีความหมายว่า แผนผังชั้นที่ 2 กระบวนการที่ 18)
2.ผู้ปฏิบัติงาน หรือ ฝ่ายรับผิดชอบ (Operator)
ส่วนที่ใช้ระบุตำแหน่งหรือฝ่ายที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานในกระบวนการ จากรูปที่ 8.3
ผู้ที่รับผิดชอบในกระบวนการคือ Sales
3.งาน (Job)
ส่วนนี้จะต้องตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยคำกริยาเสมอ เป็นคำที่ใช้อธิบายงานที่กระบวนการนี้ทำ
จากรูปที่ 8.3 งานในกระบวนการคือ Check Credit Rating (ตรวจสอบระดับความน่าเชื่อถือ)
2.หลักการใช้งานสัญลักษณ์กระบวนการ
1.สัญลักษณ์กระบวนการเปรียบเสมือนกล่องดำ (Black Box)
คำว่ากล่องดำนั้นหมายความว่า เราจะไม่รู้ว่าข้างในกระบวนการทำอะไรบ้าง จนกว่าเราจะเปิดกล่อง
ออกดู ซึ่งการเปิดดูในที่นี้ก็คือการดูผัง DFD ในขั้นต่อไปที่แสดงรายละเอียดภายในกระบวนการนั้น
2.สัญลักษณ์กระบวนการต้องมีเอกลักษณ์
เราไม่ควรสร้างกระบวนการที่ทำงานซ้ำกันหรือเหมือนกันไว้ในผังเดียวกัน
3.สัญลักษณ์กระบวนการต้องมีทั้งข้อมูลเข้าและข้อมูลออกเสมอ
การทำงานกับข้อมูลก็คือ มีข้อมูลเข้าเพื่อใช้ทำงานและมีข้อมูลออกเพื่อส่งผลงานออกมา
4.สัญลักษณ์กระบวนการสามารถมีข้อมูลเข้ามากกว่า 1 ทางได้
5.สัญลักษณ์กระบวนการสามารถมีข้อมูลออกมากกว่า 1 ทางได้
จากรูปที่ 8.4 ได้แสดงตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์ในลักษณะที่ถูกและผิด
จากรูปที่ 8.4 กระบวนการ a ผิดเนื่องจากมีข้อมูลเข้าไปประมวลผล แต่ไม่มีผลลัพธ์ออกมาส่วนกระบวนการ b ผิดเนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่มีผลลัพธ์ออกจากกระบวนการโดยที่ไม่มีข้อมูลเข้าสู่
กระบวนการ
1.4.2 สัญลักษณ์แสดงการไหลของข้อมูล (Data Flow)
เราจะใช้สัญลักษณ์ลูกศรเป็นตัวกำหนดทิศทางการไหลของข้อมูล (Data/Information Flowing)
ดังตัวอย่างในรูปที่ 8.5
1.รายละเอียดสัญลักษณ์แสดงการไหลของข้อมูล
ในสัญลักษณ์แสดงการไหลของข้อมูลเราสามารถลงรายละเอียดย่อยอื่นได้ ดังนี้
1.หัวลูกศร (Arrow)
หัวลูกศรใช้แสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ถ้าหัวลูกศรมีทั้งสองด้านก็
หมายความว่าข้อมูลสามารถไหลไปและไหลกลับได้
2.ข้อมูล (Data)
ส่วนนี้เราควรตั้งชื่อเป็นคำนาม ใช้เป็นคำอธิบายว่าข้อมูลใดกำลังไหลอยู่ เช่น ข้อมูลรายละเอียดการ
สั่งซื้อ ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้า เป็นต้น
จากรูปที่ 8.5 เป็นการแสดงว่า ข้อมูล Order Detail ไหลจากซ้ายมือไปทางขวามือ และข้อมูล
Customer Profiles ไหลจากขวามือไปทางซ้ายมือและไหลกลับได้ในทิศตรงกันข้าม
2.หลักการใช้สัญลักษณ์แสดงการไหลของข้อมูล
1.การไหลของข้อมูลจะไหลตามทิศทางของหัวลูกศร
2.ถ้าข้อมูลมีการไหลไปกลับและเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เราสามารถใช้สัญลักษณ์ลูกศร 2 หัว
3.ถ้าข้อมูลมีการไหลไปกลับแต่เป็นข้อมูลคนละชุด เราต้องใช้สัญลักษณ์ลูกศรหัวเดียว 2 เส้น
แยกกันชี้ทิศทางของแต่ละชุดข้อมูล
4.สัญลักษณ์ที่ปลายข้างใดข้างหนึ่งของการไหลจะต้องเป็นสัญลักษณ์กระบวนการเสมอ จะไม่มีการ
ไหลของข้อมูลระหว่างแหล่งเก็บข้อมูลกับแหล่งเก็บข้อมูลหรือแหล่งเก็บข้อมูลกับแหล่งกำเนิด
ข้อมูลหรือแหล่งกำเนิดข้อมูลกับแหล่งกำเนิดข้อมูล เป็นอันขาด
5.การไหลที่ออกมาจากแหล่งเก็บข้อมูลเราจะเรียกว่า " การเรียกใช้ข้อมูล "
6.การไหลที่เข้าสู่แหล่งเก็บข้อมูลเราจะเรียกว่า "การเพิ่ม/ปรับปรุง/ลบข้อมูล"
ในรูปที่ 8.6 ได้แสดงตัวอย่างการเขียนลูกศรที่ถูกและผิด
จากรูปที่ 8.6 รูปแรกกระบวนการเก็บข้อมูลลงหน่วยเก็บข้อมูล รูปต่อมาจะผิดเนื่องจากมีกระแสข้อมูล
ระหว่างหน่วยงานภายนอกด้วยกันไม่ได้ จะทำได้ต้องผ่านกระบวนการก่อน รูปต่อมาจะผิดเนื่องจาก
หน่วยเก็บข้อมูลจะส่งข้อมูลให้หน่วยเก็บข้อมูลด้วยกันไม่ได้ ต้องผ่านกระบวนการก่อนเช่นกัน รูปต่อมา
หน่วยงานภายนอกจะเก็บข้อมูลลงสู่หน่วยเก็บข้อมูลโดยตรงไม่ได้ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการก่อนเช่นกัน
ระหว่างหน่วยงานภายนอกด้วยกันไม่ได้ จะทำได้ต้องผ่านกระบวนการก่อน รูปต่อมาจะผิดเนื่องจาก
หน่วยเก็บข้อมูลจะส่งข้อมูลให้หน่วยเก็บข้อมูลด้วยกันไม่ได้ ต้องผ่านกระบวนการก่อนเช่นกัน รูปต่อมา
หน่วยงานภายนอกจะเก็บข้อมูลลงสู่หน่วยเก็บข้อมูลโดยตรงไม่ได้ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการก่อนเช่นกัน
1.4.3 สัญลักษณ์แหล่งกำเนิดข้อมูลภายนอก (External Entities)
บางครั้งแหล่งกำเนิดข้อมูลภายนอกอาจจะถูกเรียกว่า แหล่งป้อนข้อมูล หรือ แหล่งรับข้อมูล แต่ไม่
ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร เราก็จะใช้สัญลักษณ์เดียวกัน คือ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากในการแสดงส่วนประกอบนี้
ดังรูปที่ 8.7 สำหรับส่วนประกอบนี้จะอยู่ภายนอกระบบ เช่น คน เครื่องจักร ระบบข้างเคียง ซึ่งทั้งหมดจะ
เป็นตัวส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ และในขณะเดียวกันก็รอคอยข้อมูลที่ออกมากจากระบบด้วย
1. รายละเอียดสัญลักษณ์แหล่งกำเนิดข้อมูลภายนอก
ในสัญลักษณ์กระบวนการเราสามารถลงรายละเอียดย่อยอื่นได้ มีรายละเอียดดังนี้
1) เลขอ้างอิงกระบวนการ (Unique Identifier)
วิธีระบุเลขอ้างอิงคล้ายกับที่ใช้สัญลักษณ์กระบวนการ
2) ชื่อแหล่ง (Entity)
ส่วนนี้เราควรตั้งชื่อเป็นคำนาม โดยเป็นชื่อแหล่งของข้อมูล
3) เส้นซ้ำ (Duplicate Line)
เส้นซ้ำเป็นเส้นที่บอกว่าแหล่งข้อมูลตัวนี้เป็นตัวที่ซ้ำกับแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ใช้เพื่อผังที่เขียนดู
ง่ายขึ้น ดังรูปที่ 8.8
จากรูปที่ 8.8 ทั้ง (a) และ (b) คือผังการทำงานเหมือนกัน แต่ผัง (b) ทำให้การอ่านผังง่ายขึ้นคือ
อ่านเริ่มต้นที่ซ้ายและจบที่ขวา ไม่เหมือนกับผัง (a) ที่เริ่มต้นซ้ายและก็กลับมาซ้ายอีกครั้ง
2. หลักการใช้สัญลักษณ์แหล่งกำเนิดข้อมูลภายนอก
1) แหล่งกำเนิดข้อมูลจะมีการไหลของข้อมูลเข้าและออกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
2) แหล่งกำเนิดข้อมูลจะไม่ติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง จะต้องผ่านกระบวนการก่อน
3) ข้อมูลที่แหล่งกำเนิดข้อมูลได้รับมาจากกระบวนการเสมอ
4) ข้อมูลที่แหล่งกำเนิดส่งออกไปจะไปสู่กระบวนการเสมอ
จากรูปที่ 8.9 ได้แสดงตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์แหล่งกำเนิดภายนอกที่ถูกและผิด
1.4.4 สัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล (Data Stores)
เราจะใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายเปิดแทนแหล่งเก็บข้อมูล ดังรูปที่ 8.10 แหล่งเก็บข้อมูลคือ
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล หรือพักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอการทำงานขั้นตอนต่อไป อาจจะเก็บอยู่ในรูป
แบบของกระดาษจัดเรียงในแฟ้ม หรือจะเป็นไฟล์งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบทงานของ
แต่ละสถานที่ทำงานนั้น
1. รายละเอียดสัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล
ในสัญลักษณ์กระบวนการเราสามารถลงรายละเอียดย่อยอื่นได้ มีรายละเอียดดังนี้
1) ประเภทแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store Type)
การระบุประเภทแหล่งเก็บข้อมูลเพื่อให้ผู้อ่านผังสามารถเข้าใจได้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบใด
ปกติเราจะสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
D = Computerized Data หมายถึง รูปแบบไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
M = Manual หมายถึง รูปแปบเอกสารกระดาษ จัดเก็บแยกหมวดด้วยแฟ้ม
T = Transient Data File หมายถึง รูปแบบไฟล์ชั่วคราวในเครื่องคอมพิวเตอร์
T(M) = Transient Manual หมายถึง รูปแบบเอกสารกระดาษชั่วคราว เช่น ใบสั่งงาน ฯลฯ
2) เลขอ้างอิงแหล่งเก็บข้อมูล (Unique Identifier)
การใช้งานเลขอ้างอิงแหล่งเก็บข้อมูลจะคล้ายกับที่ใช้ในสัญลักษณ์กระบวนการ
3) ชื่อแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store Name)
ส่วนนี้เราควรตั้งเป็นคำนาม โดยเป็นชื่อของแหล่งเก็บข้อมูล
4) เส้นซ้ำ (Duplicate Line)
การใช้เส้นซ้ำจะคล้ายกับที่ใช้ในสัญลักษณ์แหล่งกำเนิดข้อมูลภายนอก
2. หลักการใช้สัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล
1) ข้อมูลต้องผ่านกระบวนการก่อนที่จะไปสู่แหล่งเก็บข้อมูล
2) แหล่งเก็บข้อมูลจะไม่ส่งผ่านข้อมูลให้กันและกันโดยไม่ผ่านกระบวนการ
2. วิธีการเขียนกระแสแผนผังข้อมูล
ในการเขียนแผนผัง DFD โดยผังที่เราจะเขียนจะต้องมรการแยกลำดับชั้นต่างๆ พร้อมกับการระบุเลข
อ้างอิง อย่างมีระบบ และเข้าใจง่าย เพื่อผู้ที่นำผังไปอ่านสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 การเขียนแผนผังในแต่ละชั้น
2.1.1 ผังชั้น 0 (Level O)
เริ่มต้นเราจะต้องเขียนผังชั้นที่ 0 (Level 0) ที่เรียกว่า Context Diagram ผังชั้นนี้เขียนขึ้นเพื่อ
แสดงภาพรวมของระบบกับสภาพแวดล้อมภายนอก จะไม่มีกระบวนการซับซ้อนมากมายนัก เพราะจะมี
แค่กระบวนการอย่างเดียว แสดงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่มี ดังนี้
จากรูปผังชั้น 0 จะแสดงการสั่งซื้อที่มาจากลูกค้า (Customer) ซึ่งเราจะถือว่าลูกค้าเป็นสภาพ
แวดล้อมภายนอก ข้อมูลการสั่งซื้อ (Order) จะวิ่งเข้าสู่กระบวนการ 0 คือ Order System และส่งคำตอบ
กลับให้ลูกค้าเป็นสิ้นค้าที่สั่งซื้อ (Goods) หรือ คำปฏิเสธการสั่งซื้อ (Rejected)
2.1.2 ผังชั้น 1 (Level 1)
ผังต่อมาเป็นผังชั้น 1 (Level 1) ที่เรียกว่า Top Level DFD ซึ่งเป็นผังชั้นแรกที่ลงรายละเอียดระบบ
การทำงานหลักด้านต่างๆไว้ โดยระบบการสั่งซื้อประกอบด้วย 3 ด้านหลักๆ คือ การตรวจสอบเครดิต
ลูกค้า การจัดส่งสินค้าที่สั่งซื้อ และงานตรวจสอบสถานะทางการเงินลูกค้า เพื่อให้ข้อมูลล่าสุดเสมอที่นำ
ไปใช้ในกระบวนการตรวจสอบเครดิตลูกค้า เมื่อลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป ผังงานในชั้น 1 ดังนี้
จากรูปเราจะเห็นกระบวนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น โดยเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อจะไหล
ไปที่กระบวนการที่ 1 ผู้รับผิดชอบคือ ฝ่ายขาย (Sales) จะทำการตรวจสอบสถานะเครดิตลูกค้า โดยอาศัย
ข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าเครดิตลูกค้าไม่พอ กระบวนการ 1 จะตอบกลับลูกค้าโดยปฏิเสธการสั่งซื้อ แล้วจบขั้นตอนถ้า
เครดิตเพียงพอ ข้อมูลการสั่งซื้อนั้นจะกลายเป็นข้อมูลการสั่งซื้อที่ใช้การได้ ส่งไปให้กระบวนการที่ 2
กระบวนการ 2 ผู้รับผิดชอบคือ คลังสินค้า (Warehouse) มีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
กระบวนการ 3 ผู้รับผิดชอบคือ ฝ่ายบัญชี (Account) ที่คอยตรวจสอสถานะการเงินของลูกค้า แล้ว
คอยปรับปรุงข้อมูลนั้นในแหล่งข้อมูลให้ตรงกับความจริงเสมอ
2.1.3 ผังชั้น 2 (Level 2)
ผังต่อไปคือ ผังชั้น 2 (Level 2) เป็นผังที่แสดงรายละเอียดภายในของกระบวนการในผังชั้น 1 ดังนั้น
จากการเขียนผังชั้นที่ 1 ที่ผ่านมา ผังชั้น 2 ก็จะมีทั้งหมด 3 ผัง คือ ผังของกระบวนการที่ 1 ผังของ
กระบวนการที่ 2 และผังกระบวนการที่ 3 ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากฝังชั้น 2 ของกระบวนการที่ 1 คือการ
ตรวจสอบสถานะเครดิตของลูกค้า (Check Credit Rating) ดังนี้
รายละเอียดกระบวนการที่ 1 คือ เริ่มต้นเมื่อลูกค้าส่งข้อมูลการสั่งซื้อเข้ามา กระบวนการ 1.1 จะรับ
การสั่งซื้อนั้นและส่งต่อให้กระบวนการ 1.2 ทำการตรวจสอบสถานะการเงินของลูกค้า ถ้าผลการตรวจ
สอบไม่ผ่าน ข้อมูลการสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งให้กระบวนการ 1.3 เพื่อส่งคืนให้ลูกค้าโดยแจ้งให้ทราบว่าการ
สั่งซื้อสินค้านั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดปัญหาเรื่องเครดิต แต่ถ้าผลตรวจสอบสถานะการเงิน
ผ่าน ข้อมูลการสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งไปให้กระบวนการ 1.4 เพื่อส่งให้ระบบเคียงข้างทำงานต่อไป
2.2 การกำหนดตัวเลขอ้างอิงกระบวนการ (Unique Identifier)
ตัวเลขนี้มีความสำคัญต่อการสื่อสารความเข้าใจมาก เพราะจะบอกทั้งลำดับชั้นของกระบวนการ และ
เป็นกระบวนการหลักในขั้นที่ผ่านมาให้แก่เราได้อย่างครบถ้วน
การเขียนเลขอ้างอิงกระบวนการจะใช้ชุดตัวเลขคั่นด้วย (.) โดยชุดตัวเลขซ้ายของจุดจะเป็นลำดับ
กระบวนการในชั้นก่อนหน้านี้ที่ชั้นกระบวนการปัจจุบันได้แสดงรายละเอียดให้ โดยเลขซ้ายสุดคือ
กระบวนการหลักในลำดับชั้น 1 และเลขต่อมาจะเป็นลำดับกระบวนการในชั้นถัดมา จนชุดเลขสุดท้ายที่
อยู่ด้านขวาสุดจะเป็นลำดับกระบวนการในชั้นปัจจุบัน ดังรูปที่ 8.11 ที่แสดงแผนผังสำหรับไล่ลำดับในการ
กำหนดเลขอ้างอิงกระบวนการ
2.3 การกำหนดชั้นในการเขียนผัง
ในการเขียนผังเราควรเขียนผังอย่างละเอียดและเหมาะสม คือ ไม่ละเอียดจนเกินไป และไม่ตื้นจน
ยากต่อการทำความเข้าใจ เราสามารถทราบว่าการเขียนแผนผังของเราละเอียดและเหมาะสมแล้วโดย
สังเกตง่ายๆว่า ถ้าทุกกระบวนการของเราสามารถเขียนคำอธิบายกระบวนการ (Element Process
Description) ได้ ก็หมายความว่ากระบวนการนั้น จะมีการกล่าวถึงในหัวข้อที่ 3 ต่อไป
ดังนั้น โดยหลักของการเขียนแผนผังกระแสข้อมูลแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า "ถ้ากระบวนการใด
สามารถเขียนคำอธิบายกระบวนการได้ แสดงว่า กระบวนการนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ต้องแตกเป็นกระ
บวนการย่อยอีก"
2.4 การอธิบายรายละเอียดข้อมูลในผัง
การเขียนผังเป็นชั้นๆ ตามที่กล่าวมานั้นแสดงการไหลของข้อมูลเท่านั้น ส่วนการแสดงคำอธิบายราย
ละเอียดของข้อมูลนั้นจะจัดทำในรูปของแผนผังข้อมูลสัมพัทธ์และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
3. คำอธิบายกระบวนการทำงาน
3.1 ความหมาย
คำอธิบายกระบวนการ (Element Process Description) หมายถึง"การอธิบายรายละเอียดของ
กระบวนการ" คำอธิบายกระบวนการเป็นสิ่งที่ต้องมีควบคู่กับแผนผังกระแสข้อมูล (DFD) โดยรูปแบบคำ
อธิบายนี้มีทั้งแบบที่ใช้ภาษาธรรมชาติ และแบบที่ใช้แผนผังสำหรับการอธิบายรายละเอียดของ
กระบวนการซึ่งมีอยู่หลายชนิดที่ถูกเรียกรวมกันว่า แผนผังขั้นตอนการทำงาน (Logic of Process
Diagram)
3.2 เหตุผลที่ต้องอธิบายกระบวนการทำงาน
แม้ว่า DFD จะแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลอยู่แล้ว และแต่ละกรบวนการหลักใน DFD ก็มีการ
แสดงรายละเอียดเป็นกระบวนการย่อยแสดงเป็นชั้นไป แต่จากหลักการเขียน DFD ที่ว่า "ถ้ากระบวนการ
ใดสามารถเขียนคำอธิบายกระบวนการได้ แสดงว่ากระบวนการนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ต้องแตกเป็น
กระบวนการย่อยอีก" จึงมีเหตุผลหลักๆ ที่เราควรมีคำอธิบายกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะตัวไว้ ดังนี้
3.2.1 เพื่อความรวดเร็ว
การเขียนคำอธิบายใช้เวลาในการเขียนเพียงครั้งเดียว แต่คำอธิบายทำให้ผู้อ่านผังไม่ต้องมาเสีย
เวลาภายหลังในการคิด หรือเดาใจผู้เขียนผังว่าต้องการกระบวนการที่ทำงานอย่างไร และยังลดเวลา
สำหรับการทำงานในระยะอื่นๆ ของการพัฒนาระบบ
3.2.2 เพื่อความถูกต้อง
เมื่อระบบสร้างเสร็จ คำอธิบายจะเป็นตัวช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า ระบบที่ทำขึ้นมาตรงกับความต้องการในครั้งแรกที่เราได้ออกแบบไว้
3.2.3 เพื่อใช้ทบทวน
เมื่อพบว่าระบบมีข้อบกพร่อง เราสามารถทบทวนขั้นตอนการทำงานในระบบจากคำอธิบาย และ
พิจารณาหนทางแก้ไขได้ต่อไปได้
3.3 ระดับของคำอธิบายกระบวนการ
เราสามารถแบ่งระดับคำอธิบายเป็น 2 ระดับ ตามกลุ่มคนที่เราต้องการสื่อสารความเข้าใจ ดังนี้
3.3.1 ระดับผู้ใช้งาน (Usage Level)
คำอธิบายระดับผู้ใช้งานจะอยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย เรียงความภาษาทั่วไป ใช้สำหรับ
เป็นคู่มือสื่อสารการทำงานให้กับผู้ใช้งานได้ทราบ และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง คำอธิบายระดับนี้จึงใช้
เป็นคำบรรยายในรูปแบบภาษาธรรมชาติเป็นหลัก
3.3.2 ระดับผู้ดูแลระบบ (System Level)
คำอธิบายระดับผู้ดูแลระบบจะเป็นคำอธิบายเชิงเทคนิค ซึ่งผู้ดูแลต้องมีความรู้เชิงเทคนิคเป็นพื้น
ฐาน เพราะคำอธิบายลักษณะนี้จะเขียนอธิบายในรูปแบบเทคนิค เช่น ประโยคสั้นๆ โค้ดคำสั่ง ตาราง
ค่าข้อมูล ซึ่งไม่ใช่คำบรรยายเหมือนคำอธิบายในระดับผู้ใช้งานที่อ่านโดยตรงและเข้าใจได้
3.4 รูปแบบของคำอธิบายกระบวนการ
การเขียนอธิบายการทำงานของกระบวนการจะใช้แบบจำลองคำอธิบายขั้นตอนทำงาน โดยทั่วไปมี
อยู่ 4 รูปแบบ ให้เลือกหนึ่งหรือสองรูปแบบที่เหมาะสมมาใช้งานการเขียนคำอธิบายแต่ละกระบวนการ
สมมติว่ามีกระบวนการหนึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณส่วนลดของสินค้า เมื่อเขียน
DFD ถึงชั้นสุดท้ายแล้วจนสามารถเขียนคำอธิบายกระบวนการได้ ดังรูปที่ 8.13
3.4.1 Natural Language Specification
Natural Language Specification หมายถึง เป็นการเขียนบรรยายตามภาษาธรรมชาติ หรือภาษา
มนุษย์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน รูปแบบมักใช้สำหรับอธิบายกระบวนการเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติ
งานสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ดังรูปที่ 8.14
3.4.2 Structure Sentence
Structure Sentence เป็นการเขียนอธิบายด้วยประโยคเชิงโครงสร้างเหมือนการเขียนคำสั่ง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเขียนอธิบายในลักษณะนี้จะนำลักษณะรูปแบบของการเขียนคำสั่งโปรแกรม
มาใช้ในการอธิบาย เพื่อใช้สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ที่สร้างระบบ
ตัวอย่างในรูปที่ 8.15 ได้แสดงคำอธิบายแบบ Structure Sentence และแบบ Pseudo Code ที่มี
ความหมายเดียวกันกับการอธิบายกระบวนการด้วยภาษาธรรมชาติในรูปที่ 8.14
3.4.3 Decision Tree
Decision Tree เป็นการเขียนอธิบายกระบวนการทำงานด้วยแผนผังต้นไม้ แผนผังนี้จะแสดงการ
ตัดสินใจในกรณีต่างๆ เป็นลำดับต่อเนื่องกันไปจนได้ผลลัพธ์สุดท้าย ดังรูปที่ 8.16 ตัวอย่างการอธิบาย
ด้วยแผนผังแบบต้นไม้ที่มีความหมายเดียวกับการอธิบายกระบวนการด้วยภาษาธรรมชาติในรูปที่ 8.14
3.4.4 Decision Table
Decision Table เป็นการเขียนอธิบายโดยใช้ตาราง โดยจะแสดงการตัดสินใจตามเงื่อนไขตัดสินใจ
ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน ดังรูปที่ 8.17 เป็นการใช้ตารางการตัดสินใจที่มีความหมายเดียวกับการ
อธิบายกระบวนการด้วยภาษาธรรมชาติในรูปที่ 8.14
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น