บทที่ 9
บทที่ 9
การอธิบายกระบวนการแบบต้นไม้
สาระสำคัญ
แผนภาพตัดสินใจแบบต้นไม้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการแสดงคำอธิบายกระบวนการทำงานใน
ระบบผังนี้จะแสดงลำดับการตัดสินตามเงื่อนไขแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ โดยแผนผังนี้จะใช้งานคู่กับ
ผังแบบ DFD
จุดประสงค์ทั่วไป
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนผังแบบต้นไม้
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแผนผังแบบต้นไม้
3. มีความรู้ความสามารถในการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
4. มีความรู้ความสามารถในการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้เพื่ออธิบายกระบวนการในระบบ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. สามารถอธิบายถึงแนวความคิดของการเขียนแผนผังแบบต้นไม้ได้
2. สามารถอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนแผนผังแบบต้นไม้ได้
3. สามารถเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้เพื่ออธิบายกระบวนการในระบบได้
4. สามารถอธิบายถึงความสำคัญของการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ได้
เนื้อหาสาระ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
2. วิธีเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
3. แบบฝึกหัดหลังเรียน
1.ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้เป็นรูปแบบต้นไม้ซึ่งมีการเขียนอธิบายการทำงานของกระบวนการแบบ
หนึ่งแผนผังนี้มาจากการประยุกต์แผนผังแบบต้นไม้ซึ่งมีการใช้งานในหลายๆ ด้านทั้งแบบจำลองทาง
คณิตศาสตร์และแบบจำลองสำหรับตัดสินใจทางธุรกิจ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนผัง
ตัดสินใจแบบต้นไม้ มีดังนี้
หนึ่งแผนผังนี้มาจากการประยุกต์แผนผังแบบต้นไม้ซึ่งมีการใช้งานในหลายๆ ด้านทั้งแบบจำลองทาง
คณิตศาสตร์และแบบจำลองสำหรับตัดสินใจทางธุรกิจ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนผัง
ตัดสินใจแบบต้นไม้ มีดังนี้
1.1 แผนผังแบบต้นไม้
1.1.1 ลักษณะแผนผังแบบต้นไม้
แผนผังแบบต้นไม้ (Tree Diagram) มีรูปร่างเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งก้านและใบ แต่วางแบบกลับ
หัวลงหรือนอนตะแคงไปทางขวา การไล่ลำดับในผังจะเริ่มต้นจากบนลงล่างและซ้ายไปขวา สำหรับ
รายละเอียดเกี่ยวกับแผนผังต้นไม้นั้นยังมีอีกมาก แต่ในหนังสือนี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่ใช้งานในระดับ
เบื้องต้นเท่านั้น
1.1.2 องค์ประกอบแผนผังแบบต้นไม้
องค์ประกอบของแผนผังแบบต้นไม้จะเรียกตามชื่อองค์ประกอบต้นไม้ ได้แก่ ราก (Root)
กิ่ง (Branch) และใบ (Leaf) โดยจุดที่แตกเป็นกิ่งก้านและจุดเรียกว่าโหนด (Node) จากตัวอย่างใน
ตำแหน่งโหนดบนสุดเรียกว่าราก เส้นลูกศรที่ลากจากโหนดเรียกว่ากิ่งและสิ่งที่อยู่ปลาย
1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
1.2.1 ลักษณะแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ (Decision Tree Daigram หรือเรียกกันทั่วไปว่า Decision Tree)
เป็นแผนผังแบบต้นไม้ที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการเลือกเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ ตั้งแต่เงื่อนไขเบื้อง
ต้น และเงื่อนไขลำดับต่อๆ มาจนถึงเงื่อนไขสุดท้ายที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาประกอบร่วมกัน
ต้น และเงื่อนไขลำดับต่อๆ มาจนถึงเงื่อนไขสุดท้ายที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาประกอบร่วมกัน
การเขียนแผนผังโดยทั่วไปจะแสดงเงื่อนไขไว้ที่โหนด แสดงสิ่งที่เลือกๆไว้ที่กิ่งและแสดงผลลัพธ์
การตัดสินใจไว้ที่ใบจากตัวอย่างจะแสดงหลักเกณฑ์อนุมัติเงินกู้โดยนำคุณสมบัติส่วนบุคคลหลายด้าน
ของผู้ขอกูมาประกอบกันเป็นเงื่อนไขพิจารณา โดยเริ่มจะพิจารณาจากรายได้ต่อเดือน ถ้ารายได้อยู่ใน
ระดับต่ำหรือระดับสูงจะต้องพิจาณาประวัติทางคดีคืออาญา แต่ถ้ารายได้อยู๋ในระดับกลางก็จะต้อง
พิจารณาความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น
1.2.2 องค์ประกอบของอผนผังสำหรับอธิบายกระบวนการ
แผนผังที่อธิบายกระบวนการทำงานจะประกอบด้วยโหนดเงื่อนไขตัดสินใจและมีก้านแสดงการ
เลือกเป็นตัวเชื่อมกับโหนดเงื่อนไขถัดไปตามลำดับที่สองคล้องกับกระบวนการทำงาน และเชื่อมต่อกัน
ไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์การตัดสินใจสุดท้ายว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
1.2.3 การเขียนแผนผังในภาคปฏิบัติ
การเขียนคำอธิบายการประมวลผลแบบต้นไม้นั้นนิยมใช้กับกระบวนการที่มีลักษณะการทำงานที่
ซับซ้อนและต้องมีการเก็บลำดับชั้นตอนการตัดสินใจ ส่วนใหญ่นิยมใช้แผนผังแบบไบนารีซึ่งจะมีทาง
เลือกการตัดสินใจพื้นฐานของเงื่อนไข 2 ทาง (ใช่กับไม่ใช่) เพราะมีความสะดวกในการเขียนและตรวจ
สอบกระบวนการและยังสอดคล้องกับวิธีการคำนวณทางตรรกะของคอมพิวเตอร์
(0 กับ 1 หรือ True กับ False)
นอกจากนี้การใช้สัญลักษณ์ก็อาจจะแตกต่างกันไปหรืออาจจะไม่ให้ความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะว่า
โดยหลักการไล่ผังจะเริ่มโหนดของรากไปจนถึงโหนดท้ายซึ่งไม่มีความซับซ้อน ดังนั้น การเขียนผังอาจ
จะตัดรายละเอียดปลีกย่อยออก เช่น หัวลูกศร สัญลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้สัญลักษณ์
หรือการเลือกรูปแบบการเขียนผังควรมีรูปแบบที่ไปในทางเดียวกัน
2. วิธีเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้
เมื่อต้องการใช้แผนผังตัดสินแบบต้นไม้ในการเขียนอธิบายการทำงานของกระบวนการ ให้พิจารณาแนวทางการเขียนดังต่อไปนี้
2.1 ขั้นตอนการสร้างแผนผัง
2.1.1 สร้างโครงสร้างลำดับการตัดสินใจ
ในความเป็นจริงการจัดโครงสร้างลำดับการตัดสินใจในกระบวนการทำงานอาจจะทำไว้แล้วตั้งแต่การวิเคราะห์ระบบการทำงานแล้ว การสร้างโครงสร้างลำดับการตัดสินใจนี้เป็นการเตรียมการก่อนสร้าง
ตัวแบบต้นไม้ขึ้นมา เนื่องจากรูปแบบแผนผังแบบต้นไม้มีประเด็นสำคัญของการเขียนแผนผัง ดังนี้
1. เขียนโหนดแรกเป็นจุดเริ่มต้นในการตัดสินใจ
2. แตกกิ่งของเงื่อนไขแรกเป็นเงื่อนไขถัดไป
3. แตกกิ่งเงื่อนไขไปจนหมดเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
4. ทุกๆ โหนดจะมีคำถามตั้งให้เราตอบ
5. คำตอบของโหนดจะนำไปสู่โหนดคำถามต่อไป หรือนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เราต้องการ
6. กรณีกระบวนการที่อธิบายมีขั้นตอนการเลือกเพียง 2 ทาง (ใช่ กับ ไม่ใช่) สามารถเลือกแผนผัง
แบบ B-Tree ที่คำตอบของแต่ละโหนดจะมีเพียงสองอย่าวคือ "ใช่ (Y)" หรือ "ไม่ (N)" ได้
ดังนั้นเราต้องจัดโครงสร้างลำดับขั้นตอนการตัดสินใจและผลลัพธ์การตัดสินใจให้สอดคล้อง
กับรูปแบบของแผนผังแบบต้นไม้ก่อนที่จะเขียนโครงต้นไม้ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแตกก้าน
ที่เกินความจำเป็น
ตัวอย่าง
สมมติว่าเงื่อนไขในกระบวนการสำหรับคำนวณเงินที่ลูกค้าต้องชำระค่าสินค้าที่สั่งซื้อมีดังนี้
1. ถ้าซื้อไม่ถึง 100 บาท เราจะลดราคาให้คุณ 5%
2. ถ้าคุณมีสิทธิพิเศษ (special offer) เราจะลดให้คุณ 7.5% หรือ 2 บาท
(เลือกใช้ส่วนลดที่มากกว่า)
3. ถ้าลูกค้าจ่ายเงินภายใน 7 วัน เราจะลดราคาสินค้าให้คุณอีก 1% แต่ราคาขายหลังหักส่วนลด
ต้องมากกว่า 45 บาท
4. ถ้าซื้อครบ 100 บาท เราจะลดราคาให้คุณ 8% (หรือ 9% ถ้าจ่ายเงินภายใน 7 วัน)
วิธีการจัดลำดับขั้นตอน
1. ให้วิเคราะห์เงื่อนไขทั้งหมดที่มีว่ามีความต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องกันหรือไม่ มีเงื่อนไขใดที่มีความ
เป็นอิสระในตัวมันเอง จากนั้นสรุปเป็นประเด็นออกมา จากตัวอย่าง หลังจากการวิเคราะห์เราจะพบ
ประเด็นสำคัญที่สรุปออกมาได้ดังนี้
* เงื่อนไขในข้อที่ 1 และ 2 นั้นเป็นเงื่อนไขที่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อซื้อสินค้าไม่ถึง 100 บาท
จะต้องพิจารณาต่อว่าผู้ซื้อมีสิทธิพิเศษหรือไม่
* เงื่อนไขในข้อที่ 3 เป็นเงื่อนไขอิสระ กล่าวคือ มีส่วนเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อชำระเงินภายใน 7 ทุกกรณี
* เงื่อนไขในข้อที่ 4 เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับเงื่อนไขที่ 1 กล่าวคือ ถ้าซื้อสินค้าที่มีมูลค่าตั้งแต่ 100
บาทจะได้รับส่วนลดทันที 8% แต่ถ้าน้อยกว่า 100 บาทให้พิจารณาส่วนลดจากประเด็นที่ผ่านมา
2. จัดลำดับการตัดสินใจตามลำดับก่อนหลังใหม่ เงื่อนไขใดที่เกี่ยวข้องกัน ให้จัดกลุ่มไว้ในข้อ
เดียวกัน โดยทั่วไปแล้วเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกันจะอยู่ในลำดับต้นและต้องเรียงลำดับให้ถูกต้อง ส่วน
เงื่อนไขที่มีความเป็นอิสระจะอยู่ในลำดับท้ายๆ และอาจจะไม่ต้องสนใจเรื่องลำดับก่อนหลังทั้งนี้ความ
หมายของกระบวนการยังต้องคงเดิม จากตัวอย่างที่ได้วิเคราะห์เงื่อนไขออกมาแล้วสามารถจัดลำดับ
การตัดสินใจใหม่ได้ดังนี้
เงื่อนไขที่มีความเป็นอิสระจะอยู่ในลำดับท้ายๆ และอาจจะไม่ต้องสนใจเรื่องลำดับก่อนหลังทั้งนี้ความ
หมายของกระบวนการยังต้องคงเดิม จากตัวอย่างที่ได้วิเคราะห์เงื่อนไขออกมาแล้วสามารถจัดลำดับ
การตัดสินใจใหม่ได้ดังนี้
1. ถ้าซื้อครบ 100 บาท เราจะลดให้คุณ 8% ถ้าซื้อไม่ถึง 100 บาท ให้ดูข้อ 2
2. ถ้าคุณมีสิทธิพิเศษ (special offer) เราจะลดให้คุณ 7.5% หรือ 2 บาท
(เลือกใช้ส่วนลดที่มากกว่า) แต่ถ้าไม่มีสิทธิพิเศษเราจะลดราคาให้คุณ 5%
3. ถ้าลูกค้าจ่ายเงินภายใน 7 วัน เราจะลดราคสินค้าให้คุณอีก 1% แต่ราคาขายหลังหักส่วนลดต้อง
มากกว่า 45 บาท
2.1.2 เขียนโครงสร้างต้นไม้
1. เริ่มเขียนที่รากต้นไม้ก่อน โดยใช้เงื่อนไขแรกเป็นจุดเริ่มต้น
2. แตกกิ่งจากเงื่อนไขแรกไปสู่เงื่อนไขถัดไป
3. ทำตามขั้นตอนที่ 2 จนครบทุกงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
4. ที่กิ่งให้เขียนสิ่งที่ตัดสินใจเลือก หรือการกระทำที่เป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจเลือก
2.2 ลักษณะการอธิบายที่เหมาะสมสำหรับแผนผังแบบต้นไม้
เมื่อต้องการนำแผนผังการตัดสินใจแบบต้นไม้มาใช้งาน ให้พิจารณาความเหมาะสมดังนี้
2.2.1 ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของแผนผังต้นไม้
1. โครงสร้างแบบต้นไม้ไม่มีลำดับชัดเจน ทำให้เห็นเงื่อนไขหรือการกระทำได้ชัดเจน และการ
ตรวจสอบความถูกต้องทำได้ง่ายขึ้น แต่ต้องมั่นใจว่า ลำดับการตัดสินใจในกระบวนการทำงาน
มีความถูกต้องแล้วก่อนที่จะเขียนแผนผังต้นไม้
2. มีความสะดวกและง่ายต่อการทำความเข้าใจแต่ต้องใช้พื้นที่มากในการเขียน
2.2.2 ลักษณะการอธิบายที่เหมาะสมสำหรับแผนผังแบบต้นไม้
แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้เหมาะสมสำหรับอธิบายกระบวนการทำงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขในกระบวนการทำงานมีลำดับก่อนหลังชัดเจน
2. มีเงื่อนไขที่แตกย่อยต่อเนื่องออกไปหลากหลาย (หรือต้องแตกกิ่งสู่เงื่อนไขต่อไปหลายขั้น)
สรุปท้ายบทที่ 9
กลไกการทำงานภายในระบบมีการทำงานที่ซับซ้อน การทำงานประเภทหนึ่งเช่นการทำงานต้องมีการตัดสินใจ ถ้าหากวิธีการตัดสินใจนั้นซับซ้อนซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขหลายเงื่อนไขการอธิบายขบวนการตัดสินใจในปัญหานั้นอาจนำแผนภาพต้นไม้ (Tree) มาอธิบายขั้นตอนการตัดสินใจโดยจะใช้แผนภาพนี้คู่กับแผนผังกระแสข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น