บทที่ 7
บทที่ 7
การเขียนผังงานระบบ
1. ภาพรวมของผังงาน
1.1 ความหมายของผังงาน
หากแปลแบบตรงตัวแล้ว ผังงาน (Flowchart) ก็คือแผนผัง (Diagram) ที่ใช้แสดงลำดับขั้นตอนในแง่
ของการพัฒนาระบบงาน คือการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายที่ต้องการแทนการใช้คำ
พูดหรือข้อความนั้นได้แสดงแผนผังการทำงานสำหรับการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ ดังรูปที่
7.1 ซึ่งรูปที่ใช้แสดงนั้นก็ถือว่าเป็นผังงานชนิดหนึ่งที่แสดงขั้นตอนการทำงานและทิศทางการไหลของ
ข้อมูลของแต่ละขั้นตอน
รูปที่ 7.1 การใช้สัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน
1.2 ประโยชน์ของผังงาน
การนำผังงานมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้นมีประโยชน์ดังนี้
1. สามารถใช้แสดงลำดับขั้นตอนชัดเจน
2. สะดวกในการทำความเข้าใจ
3. ใช้แยกแยะและค้นหาข้อผิดพลาดต่างๆ
4. เป็นภาษาสัญลักษณ์ในการสื่อสาร
1.3 ความสำคัญของผังงาน
ผังงานเป็นเครื่องมือหลักๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบงานดังนี้
1.ใช้บันทึกหรือนำเสนอแนวคิดได้สะดวกและรวดเร็ว
2.สามารถแสดงภาพรวมของกระบวนการและองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วน
3.ช่วยให้เกิดการคิดเชิงระบบเกี่ยวกับการออกแบบระบบและการแก้ไขข้อบกพร่องจากการออกแบบ
1.4 ประเภทของผังงาน
ผังงานที่เราพบเห็นทั่วไปสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบมี 2 แบบ คือ
ผังงานระบบ (System Flowchart) เป็นผังงานที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบงานลักษณะของ
ภาพรวม โดยแสดงทิศทางการทำงานในระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เกิดข้อมูลครั้งแรกและรูปแบบการจัด
เก็บข้อมูลนั้น ผ่านระยบย่อยสำหรับประมวลผลการทำงานที่กำหนดไว้จนได้ผลลัพธ์สุดท้าย โดยจะไม่
เน้นการทำงานใรระบบย่อยว่ามีวิธีการทำงานหรือการประมวลผลอย่างไร ดังรูป
1.4.2 ผังงานโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) เป็นผังงานที่แสดงอัลกอริธึม (Algorithm) ของโปรแกรมใน
ผังงานโปรแกรมจึงแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่การรับข้อมูลการประมวลผล
ตลอดจนผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ดังรูป
1.5 ข้อจำกัดของผังงาน
แม้ผังงานจะมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจลำดับหรือวิธีการทำงาน แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานดังนี้
1. ผังงานแสดงลำดับความสำคัญของแต่ละขั้นตอนไม่ได้
2. ระบบที่ซับซ้อนขึ้นจะทำให้ผังงานดูยากขึ้นและต้องใช้เวลาในการจัดทำมากขึ้น เช่น ถ้าระบบที่
ใหญ่ขึ้น มีองค์ประกอบหรือระบบย่อยมากขึ้น จะทำให้เห็นภาพรวมได้ยากขึ้น
3. ตัวผังงานเองนำไปใช้งานเป็นระบบไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นเพียงพิมพ์เขียวในการพัฒนาระบบเท่านั้น
2. การเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบจะใช้สัญลักษณ์และวิธีการแบบเดียวกับการเขียนผังงานโปรแกรม แต่การเขียน
ผังงานระบบจะตัดทอนรายละเอียดปลีกย่อยจำพวกวิธีการประมวลผล หรือการทำงานในระบบย่อย
2.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ
สัญลักษณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการเขียนผังงานส่วนใหญ่เป็นแบบมาตรฐานแอนซี (American National
Standards Institute: ANIS) ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1.1 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) เป็นสัญลักษณ์แสดงการทำงานทั่วไป
2.1.2 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) มักแสดงการทำงานที่เกี่ยวข้องกันระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
2.1.3 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) แสดงลักษณะการทำงานแบบการเขียน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สัญลักษณ์เหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเขียนผังงานระบบได้
รูปที่ 7.4 สัญลักษณ์พื้นฐาน
รูปที่ 7.5 สัญลักษณ์ระบบ
รูปที่ 7.6 ภาพสัญลักษณ์โปรแกรม
2.2 วิธีการเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบมีวิธีการเขียนแบบเดียวกันการเขียนผังงานโปรแกรม ใช้สัญลักษณ์เดียวกับการ
เขียนผังงานโปรแกรม โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะการทำงานเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะการทำงานใน
ระบบงาน คือ การรับข้อมูลเข้า (Input) การประมวลผลข้อมูลที่นำเข้า (Processing) และการให้ผลลัพธ์ (Output) มีข้อควรพิจารณาสำหรับการเขียนผังงานดังต่อไปนี้
2.2.1 กฎการเขียนผังงาน
การเขียนผังงานไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะการทำงานในระบบ แต่โดยส่วนใหญ่มี
ธรรมเนียมสากลของการแสดงลำดับ (Flow) ในผังงานทุกๆ ระบบงานว่า "ลำดับการทำงานไหลจากบน
ลงล่าง และจากซ้ายไปขวา"
2.2.2 ข้อแนะนำสำหรับการเขียนผังงาน
เนื่องจากการเขียนผังงานต้องสอดคล้องกับลักษณะการทำงานในระบบงาน การเขียนผังงานอาจ
จะไม่ได้เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติทั้งหมด แต่เพื่อให้ยังคงเกิดผลประโยชน์ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องให้
พิจารณาคำแนะนำ ต่อไปนี้ในการเขียนผังงาน
1. ใช้สัญลักษณ์ที่มีมาตรฐานความเข้าใจเดียวกัน
2. ใช้ขนาดสัญลักษณ์ให้เหมาะสม รวมถึงสัดส่วนขนาดของสัญลักษณ์ในแต่ละแบบควรมีความ
เหมาะสมด้วย
3. การเขียนคำอธิบายในสัญลักษณ์ต่างๆ ควรสั่นกระชับ ได้ใจความ มีความหมายชัดเจนเข้าใจได้ง่าย
ทั้งในสัญลักษณ์ที่แทนการทำงานและสัญลักษณ์แสดงคำอธิบายเพิ่มเติม
4. แผนภาพที่เขียนขึ้นมาต้องมีลูกศรแสดงทิศทางการทำงานทั้งขาเข้าและขาออก
5. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในผังงานควรมีเพียงอย่างละ 1 จุด
6. ควรเขียนให้จบภายในหน้าเดียวกัน เพราะจะช่วยทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมดได้ในคราวเดียว
7. ควรเลี่ยงจุดตัดกันข้องเส้นแสดงการไหลของลำดับงาน หรือเส้นทางการทำงานข้ามหรือทับกันควร
ใช้สัญลักษณ์การเชื่อมต่อแทน เช่น ลำดับการทำงานที่อยู่ห่างกันมาก การใช้วิธีลากเส้นเชื่อม
ระหว่าง 2 จุดจะทำให้เส้นแสดงการไหลจะยาวมาก
8. ควรจัดวางภาพสัญลักษณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูสะอาดตา จะทำให้ติดตามขั้นตอนต่างๆ ใน
ผังงานได้ง่าย
ภาพรวมของวิธีการจัดภาพสัญลักษณ์ในเบื้องต้น
รูปที่ 7.7 ตัวอย่างการใช้งานภาพสัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน
2.3 ลักษณะการเขียนผังงาน
การเขียนผังงานจะพบลักษณะการจัดวางภาพสัญลักษณ์ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
2.3.1 ลักษณะโครงสร้างการทำงานในผังงาน
การเขียนผังงานจะต้องสอดคล้องกับโครงสร้างกระบวนการทำงานโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 โครงใหญ่ๆ คือ
1. โครงสร้างแบบลำดับเป็นโครงสร้างการทำงานพื้นฐานที่สุดของระบบการทำงาน
2. โครงสร้างแบบเลือกทำตามเงื่อนไข
- แบบเลือก (Selection Structure) ผังงานมีลักษณะโครงสร้างการทำงานแบบเลือกทำตาม
เงื่อนไข 2 ทาง คือ เท็จกับจริง
- แบบกรณี (Case Structure) มีลักษณะแบบเดียวกันแบบเลือกแต่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง
- โครงสร้างการทำงานแบบวนรอบหรือทำซ้ำ
2.3.2 ลักษณะการวางภาพสัญลักษณ์
มีแนวทางการจัดวางภาพอยู่หลายลักษณะ สำหรับการพัฒนาระบบมี 2 ลักษณะนิยมใช้ คือ
1. แสดงกระบวนงานเชิงตรรกะ จะเน้นแสดงกระบวนการทำงานเพียงอย่างเดียว แผนภาพลักษณ์นี้
เหมาะสำหรับการแสดงลำดับการทำงานหรือองค์ประกอบในระบบงานเป็นหลัก
2. แสดงกระบวนงานเชิงปฏิบัติงาน ลักษณะนี้จะแสดงบุคลากรที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการและ
ตำแหน่งการจัดวางภาพลักษณ์จึงถูกแบ่งกลุ่มตามบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
3. การนำผังระบบมาใช้งาน
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผังงานระบบจะแสดงภาพรวมการทำงานทั้งระบบงาน เราสามารถนำผังงาน
ระบบมาใช้งานสำหรับกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
3.1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจระบบ
การรวบรวมข้อมูลของระบบการทำงานเดิมมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผังงานระบบหลายส่วนเช่น
3.1.1 การศึกษากระบวนการทำงานเดิม
ระบบการทำงานเดิมมักจะมีเอกสารกระบวนการทั้งในรูปของคู่มือที่เป็นคำบรรยายทั่วไปและในรูป
ของผังงานระบบ
3.1.2 การบันทึกลักษณะการทำงานในระบบย่อย
บางครั้งการศึกษาทำความเข้าใจกับระบบเดิมไม่สามารถศึกษาจากเอกสารกระบวนการโดยตรง
แต่อาจะได้ข้อมูลที่มาจากการสัมภาษณ์ การสังเกต หรือศึกษาจากเอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติงานของผู้
ใช้งานระบบ
3.1.3 การสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์และออกแบบระบบเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้งานระบบ
และกลุ่มบุคคลที่เป็นทีมงานพัฒนาระบบและยังรวมไปถึงการบริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบ
3.2 การออกแบบระบบการทำงาน
การพัฒนาระบบขึ้นมาต้องมีพิมพ์เขียวหรือแม่แบบในการพัฒนา การเขียนผังงานระบบจึงเป็นส่วน
หนึ่งของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อแสดงภาพรวมทั้งหมดก่อนเริ่มต้นนำระบบไปใช้งานได้จริง
บางครั้งการพัฒนาระบบมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบางส่วนที่ระบุไว้ในผังงานให้ตรงกับสภาพ
ปัจจุบันเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในงสนด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อไป
3.3 การประยุกต์ใช้งานเชิงระบบด้านอื่น
การประยุกต์ด้านนี้มักเป็นการจัดระเบียบสิ่งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของระบบเป็นส่วนใหญ่ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกับระบบ เช่น การเขียนผังงานแสดงวิธีที่บุคคลจะติดต่อกับองค์กร โดยแนะนำส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น